งานชิ้นที่ 5

งานชิ้นที่  5

โครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้

1.ชื่อเรื่อง
          การแก้ปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อนของนักเรียนความจำสั่นในห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
2.ชื่อผู้วิจัย
          นางสาวรุ่งทิพย์  คงเซ่ง
3.ปัญหาและสาเหตุ
            โรงเรียนทุ่งสงวิทยาเป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียน 
1000  กว่าคน  จะมีทั้งนักเรียนที่เรียนเก่ง  เรียนปานกลางและเรียนอ่อน  ร่วมทั่งนักเรียนที่สมาธิสั้นและความจำสั้น  ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  จำนวน  ห้องเรียน  ประกอบด้วยนักเรียนทั้งหมด 60  คน  เป็นนักเรียนชาย  21  คน  นักเรียนหญิง  39  คน  ในจำนวนนี้มีนักเรียนที่ความจำสั้นอยู่ด้วย  คน  เป็นชาย  คน  หญิง  คน  เป็นผู้เรียนที่มีปัญหา  ทำงานอะไรในห้องเรียนเพื่อนมักจะไม่ให้เข้ากลุ่ม  เช่น  เมื่อทำงานกลุ่มทุกครั้งเพื่อนจะไม่ยอมให้เข้ากลุ่ม  สาเหตุมาจาก  ธีรภาพเป็นคนที่ขี้ลืมต้องคอยถามอยู่ตลอดเวลาเพื่อนๆจึงเกิดความรำคาญ  ส่วนศิริวรรณจะไม่พูดอะไรกับเพื่อนในห้อเลยจะทำงานคนเดียวและทำงานได้ช้ามากเพื่อนๆในห้องจึงไม่ยอมรับ  คน  นี้เข้ากลุ่มเวลาทำงาน
4.วิธีแก้ไข
            
1.ในแต่ละคาบที่เข้าสอนจะมีกิจกรรมให้นักเรียนทำก่อนเรียน  10  นาที  ซึ่งนักเรียนทั้งห้องจะต้องร่วมมือกันในการทำกิจกรรม  ในช่วงแรกเพื่อนในห้องยังไม่ให้ธีรภาพและศิริวรรณเข้ามาร่วมในการทำกิจกรรมด้วยเพราะ  คนนี้ได้แต่ถามเพื่อนๆว่าเข้าให้ทำอะไรกิจกรรมที่ทำเลยไม่เสร็จแต่เมื่อเวลาผ่านไปได้ทำกิจกรรมกันทุกคาบก่อนเรียนทำให้เพื่อนๆในห้องยอมรับ  คนนี้มากขึ้นคอยชี้แนะในการทำกิจกรรมให้  คนนี้ได้รับรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
             2.เมื่อมีงานกลุ่มครูจะจัดกลุ่มให้นักเรียนเองโดยให้นักเรียน  คนนี้เข้ากลุ่มเพื่อนที่เรียนเก่งจากนั้นให้เพื่อนคอยย้ำคอยบอกเวลาครูสั่งงานให้ทำ
             3.ครูจะจดงานหรือการบ้านขึ้นกระดานเพื่อให้นักเรียนได้จดลงในสมุดเรียนแล้วไปเปิดอ่านในสมุดงานของแต่ละคน
5.ผลการแก้ไข
             ผลการแก้ไขพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป  ธีรภาพและศิริวรรณสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นที่ละน้อยเพื่อนๆในห้องก็สามารถยอมรับธีรภาพและศิริวรรณได้มากขึ้น  เมื่อให้ทำงานกลุ่มเพื่อนก็ให้
  2  คนนี้เข้ากลุ่ม  และเมื่อครูสั่งงานก็ไม่มาถามมากเหมือนในตอนแรกๆและสามารถทำงานมาส่งได้ตามเวลาที่กำหนดให้ส่ง  ซึ่งผู้วิจัยจะสั่งเกตุพฤตกรรมและคอยช่วยเหลือต่อไป

.........................................................................................................................................................................................................................



1.ชื่อเรื่อง
                การแก้ปัญหานักเรียนอ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้อง
2.ชื่อผู้วิจัย
               นางสาวรุ่งทิพย์  คงเซ่ง
3.ปัญหา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/จำนวน  26  คน  เป็นชาย  13   คน  หญิง  13   คน อ่านชื่อธาตุใน
ตารางธาตุไม่ถูกต้อง
4.สาเหตุ
1.นักเรียนไม่เข้าใจสัญลักษณ์ของตารางธาตุ
2.นักเรียนไม่รู้ว่าเป็นชื่อธาตุอะไร
3.นักเรียนไม่เคยเห็นตารางธาตุมาก่อน
4.ครูที่เคยสอนมาไม่ได้เน้นให้อ่านชื่อธาตุ
5.นักเรียนบางคนอ่านหนังสือไม่ออก
5.วิธีการแก้ปัญหา
1.ครูเขียนชื่อธาตุหลัก  20  ธาตุแรกให้ในกระดานแล้วให้นักเรียนจดลงในสมุด
2.ให้นักเรียนหัดท่องธาตุก่อนเริ่มเรียนเรื่องธาตุ
3.ให้นักเรียนเขียนธาตุโดยไม่ต้องดูในสมุดที่จดไว้
4.ให้นักเรียนออกมาสอบท่องตารางธาตุที่ละคน โดยไม่ต้องดูในสมุดที่จดไว้ และให้ท่องเรียง
ตามลำดับจากตัวที่  ถึง  ตัวที่  20

6.ผลการแก้ไข
การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/จำนวน  27  คน  เป็นชาย  13  คน  หญิง  13   คน อ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้องแล้วนำมาฝึกตามขั้นตอนนักเรียนสามารถท่องจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุในตารางธาตุ  20  ธาตุพื้นฐานได้ถูกต้องและมีความมั่นใจในการอ่านชื่อธาตุมากขึ้น  แต่จะมีนักเรียน  1       คนที่ท่องจำธาตุ  20  ธาตุพื้นฐานไม่ได้ เนื่องจากเป็นเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกครูก็เลยให้โอกาศในการสอบท่องตารางธาตุมากกว่าคนอื่น








..............................................................................................................................................................................................

                      ภาคเรียนที่  2 

วิจัยชั้นเรียน 

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่จัดการเรียนรู้แบบทฤษฏีพหุปัญญา

ผู้วิจัย                     นางสาวรุ่งทิพย์  คงเซ่ง

อาจารย์ที่ปรึษาวิจัย            อาจารย์ธวัชชัย  คงนุ่ม

ปริญญา                 คบ.  สาขาวิชา  วิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัย        มหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช     ปีที่พิมพ์ 2555


บทคัดย่อ

                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นหนึ่งในรูปแบบวิธีการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสติปัญญาควบคู่ไปกับด้านจิตพิสัยของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ   ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ที่จัดการเรียนรู้แบบทฤษฏีพหุปัญญา  และเพื่อศึกษาความสามารถด้านพหุปัญญาของผู้เรียน  ที่จัดการเรียนรู้แบบทฤษฏีพหุปัญญา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  สุ่มตัวอย่างนักเรียน  37  คน  โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบทฤษฏีพหุปัญญา   เรื่อง  แสงกับการมองเห็น  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบทฤษฏีพหุปัญญา  เรื่อง  แสงกับการมองเห็น  และแบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญา  โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนเทุ่งสงวิทยา  ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบทฤษฏีพหุปัญญา  โดยใช้  t-test  แบบ  dependent  Samples  และ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  หลังเรียนกับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย  โดย ใช้  t-test  แบบ  one samples test
สรุปผลการศึกษาวิจัยได้ดังนี้
                1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องแสงกับการมองเห็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบทฤษฏีพหุปัญญาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามตามแบบทฤษฏีพหุปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องแสงกับการมองเห็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบทฤษฏีพหุปัญญาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                3.ความสามารถด้านพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบทฤษฏีพหุปัญญาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบทฤษฏีพหุปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น