งานชิ้นที่ 6


งานชิ้นที่  6

งานประกอบการจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจำแนกสาร 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2         ภาคเรียนที่ 1/2555                                    
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจำแนกสาร                                                              เวลา 12 ชั่วโมง
เรื่อง การแยกสารผสม                                                                                       เวลา  7   ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………...
มาตรฐาน ว  3.1   เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด :3.1 2/3 ทดลองและอธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก การสกัด การกลั่น และโครมาโท กราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ : การกรอง การตกผลึก การสกัด การกลั่น และโครมาโตกราฟี เป็นวิธีการแยกสารที่มีหลักการแตกต่างกัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.              ด้านความรู้ (Knowledge : K)
1.             อธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
2.             สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
3.             ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการแยกสารด้วยการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
2.              ด้านทักษะ / กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Process : P)
1.             สามารถทดลอง แยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
2.             ทักษะด้านวิทยาศาสตร์
3.             กระบวนการกลุ่ม
4.             ทักษะการสืบค้น
3.              ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Attitude : A)
1.             จิตวิทยาศาสตร์
สาระสำคัญ :
สารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารผสมซึ่งอาจจะเป็นสารผสมเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม  ถ้าต้องการแยกสารผสมให้เป็นสารเพียงชนิดเดียวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทำได้โดยการอาศัยสมบัติเฉพาะตัวของสารนั้น เช่นการกรองเป็นการแยกของแข็งออกจากของเหลว การตกผลึก การกลั่นเป็นการแยกของเหลวออกจากของเหลว หรือของแข็งออกจากของเหลว ในกรณีที่สารมีจุดเดือดต่างกันมาก การสกัดด้วยตัวทำละลาย จะอาศัยเกี่ยวกับหลักการละลายของสารเนื่องจาสารแต่ละชนิด จะละลายได้ไม่เท่ากันในตัวทำละลายที่ต่างกัน ส่วนสารผสมที่ประกอบด้วยสารชนิดต่างๆที่เคลื่อนที่บนตัวดูดซับต่างกัน ในกรณีนี้อาจจะใช้โครมาโทกราฟี ในการแยกสาร

ภาระงาน/ชิ้นงาน/หลักฐาน
การวัดผล
หลักฐาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน
ความรู้ความเข้าใจ
แบบทดสอบ เรื่องการแยกสารผสม
ใบงานที่1 การแยกสรผสม
ทักษะกระบวนการ
กิจกรรมที่1.1 การแยกสารผสม
กิจกรรมที่1.2 การแยกสารจากส่วนต่างๆของพืช
กิจกรรมที่1.3 การแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
และกิจกรรมที่1.4การละลายของสารเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
เจตคติ
แบบประเมินการวัดจิตวิทยาศาสตร์

กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่1-2)
1.              ขั้นสร้างความสนใจ
1)            ครูนำของจริงหรือรูปภาพสสารชนิดต่าง ๆและภาพทั่วไป  เช่น น้ำตะกอนดิน ข้าวสารที่ผสมอยู่กับข้าวเปลือก น้ำเชื่อม และผงตะไบเหล็กที่ผสมอยู่กับทราย หรือภาพต่างๆ มาให้นักเรียนดู แล้วครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-                   ภาพใดบางที่เป็นสสารและภาพใดที่ไม่ใช่สสาร
-                   สารชนิดต่าง ๆ จัดเป็นสารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม เพราะเหตุใด
-                   นักเรียนสามารถนำสารแต่ละชนิดมาใช้ประโยชน์ได้เลยหรือไม่ เพราะอะไร
-                   ถ้านักเรียนต้องการสารเพียงชนิดเดียวมาใช้ประโยชน์สามารถทำได้ด้วยวิธีการใด
2)              นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสารด้วยวิธีการต่างๆ



2.              ขั้นสำรวจและค้นหา
1) ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่องการแยกสารผสม
2) ให้นักเรียนศึกษาและออกแบบกิจกรรมการทดลองในกิจกรรมที่1เรื่องการเยกสารผสม
3) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยครูใช้คำถามกระตุ้นดังนี้
ลักษณะที่สังเกตได้ของสารแต่ละชนิดก่อนแยกมีลักษณะใด
ลักษณะที่สังเกตได้ของสารแต่ละชนิดหลังแยกมีลักษณะใด
        – การแยกสารด้วยวิธีการต่าง ๆ แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
4) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
5)ให้นักเรียนศึกษาหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น ตกผลึก สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษ ได้จากแหล่งความรู้ต่าง หรือจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (แม็ค) ม.2
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามต่อไปนี้
 - นักเรียนสามารถแยกของแข็งออกจากของแข็งโดยวิธีการใด
 - การกรองเหมาะกับสารที่มีสถานะอย่างไร
   - ถ้าสาร 1 ตัวมีสารผสมหลายชนิดเละมีความสามารถในการดูดซึมต่างกัน ควรใช้การแยกสารแบบใด
4. ขั้นขยายความรู้
                               1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารโดยการกรอง กลั่น ตกผลึก สกัดและโครมาโทกราฟีกระดาษ
                                 2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแยกสารจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู

5. ขั้นประเมิน
                                1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                                2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                                3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
 4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม จากใบงานที่1 กับใบงานที่2
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด

กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่3-4)
1.              ขั้นสร้างความสนใจ
1)            ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับหลักการในการแยกสารด้วยวิธีการกรองและการกลั่น ที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
การแยกสารด้วยวิธีการกรองเหมาะสำหรับแยกสารที่มีสมบัติใด
การแยกสารด้วยวิธีการกลั่นเหมาะสำหรับแยกสารที่มีสมบัติใด
                        2 ) ครูนำน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกุหลาบ กลิ่นดอกราตรี และกลิ่นดอกมะลิ มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามต่อไปนี้
                                 – น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดมีกลิ่นเหมือนดอกไม้ประเภทใด
                                 – นักเรียนคิดว่าการแยกกลิ่นของดอกไม้แต่ละชนิดออกมาสามารถทำได้โดยใช้วิธีการใด
                                 – การแยกสารโดยใช้วิธีการกรองและการกลั่นสามารถแยกกลิ่นของดอกไม้ออกมาได้หรือไม่ เพราะอะไร
                          3) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารด้วยการสกัดจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การแยกสารด้วยการสกัด สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่งมีหลักการแตกต่างกัน
คือ การสกัดด้วยไอน้ำ เป็นการแยกสารองค์ประกอบโดยใช้ไอน้ำ ทำให้สารที่ระเหยเป็นไอง่ายและไม่
ละลายน้ำเกิดการเดือดกลายเป็นไอ แล้วแยกตัวออกมาพร้อมกับไอน้ำ และการสกัดด้วยตัวทำละลาย
เป็นการแยกสารองค์ประกอบ โดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการออกจากของผสม
                    2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัติ กิจกรรม ทดลองการสกัดด้วยตัวทำละลาย
ต่าง ๆ  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
                ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
การใช้ตัวทำละลายในการสกัดแตกต่างกัน สารที่สกัดได้จะแตกต่างกันหรือไม่
ขั้นที่ 2 กำหนดสมมุติฐาน
การสกัดสารโดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย สารที่สกัดได้จะแตกต่างจากการใช้
น้ำเป็นตัวทำละลาย
ขั้นที่ 3 ทดสอบสมมุติฐาน

ตอนที่ 1
หั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงในขวดรูปกรวย 2 ใบ ใบละประมาณ 5 กรัม
จากนั้นเติมน้ำและเอทานอล 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในขวดใบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ปิดขวดด้วยจุกยางให้แน่นแล้วเขย่าแรง ๆ ประมาณ 5 นาที สังเกตและบันทึกผลที่ได้
แยกส่วนที่เป็นของเหลวออกจากสารผสมที่อยู่ในขวดทั้งสอง แล้วนำของเหลวที่ได้
ไประเหยแห้ง สังเกตและบันทึกผล
ตอนที่ 2
เลือกพืชในท้องถิ่นที่มีกลิ่นหอมหรือมีสีสวยงามมา 1 ชนิด
ศึกษาข้อมูลและวางแผนออกแบบวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยหรือสีออกจากส่วน
ต่าง ๆ ของพืช
ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่เลือก สังเกต บันทึก และนำเสนอผลการทำกิจกรรม
ในรูปแบบที่น่าสนใจ (สีที่สกัดได้ให้เก็บไว้ใช้ในกิจกรรมแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี)
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพื่ออธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนตั้งสมมุติฐานหรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนเป็นรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
  – ถ้าตัวทำละลายต่างชนิดกันจะสกัดสารจากพืชได้เหมือนกันหรือไม่ เพราะอะไร (เมื่อตัวทำละลายต่างชนิดกันจะสกัดสารได้แตกต่างกัน คือ น้ำใช้สกัดสีจากขมิ้นได้ดี ส่วนเอทานอลใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นได้ดี)
  – ถ้าผสมตัวทำละลายคือน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน จะได้ผลการสกัดสารใน
ลักษณะใด (ถ้าผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน สารที่สกัดได้จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วย)
  – นักเรียนสามารถนำสารสกัดที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด (สามารถนำสารที่สกัดได้
จากขมิ้นไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำเครื่องสำอาง หรือผสมในอาหาร เช่น ข้าวหมกไก่ ปลาทอดขมิ้น ส่วนกลิ่นหอมระเหยอาจนำไปผสมในน้ำมันหม่องสมุนไพร)
                    3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
4. ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยการสกัดจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแยกสารด้วยการสกัดจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                        4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม จากใบงานที่3
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยการสกัด โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด




กิจกรรมการเรียนการสอน (ชั่วโมงที่)
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการแยกสารด้วยการสกัดที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
การแยกสารด้วยวิธีการสกัดมีหลักการอย่างไร 
สารที่สกัดได้มีลักษณะใด ถ้าสารที่สกัดได้เป็นสารละลายที่มองเห็นเพียงสีเดียว นักเรียนคิดว่าสารนั้นเป็นสารบริสุทธิ์หรือไม่ เพราะอะไร
นักเรียนจะใช้วิธีการใดในการแยกสารละลายที่มองเห็นเป็นสีเดียวให้เป็นสารบริสุทธิ์
     2) ครูสาธิตการแพร่ของของเหลวบนวัสดุชนิดต่าง ๆ ให้นักเรียนดู โดยนำของเหลว เช่น น้ำหมึก หรือน้ำสีผสมอาหาร หยดลงบนเศษผ้า กระดาษ และใบไม้ ที่เตรียมไว้ให้นักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม จากนั้นสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยครูใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้
เมื่อหยดของเหลวลงบนวัสดุต่าง ๆ ของเหลว
จะเคลื่อนที่บนวัสดุแต่ละชนิดได้ระยะทางแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนคิดว่าวัสดุชนิดใดจะทำให้ของเหลวเคลื่อนที่ได้ระยะทางไกลที่สุด
ระยะทางที่ของเหลวเคลื่อนที่ผ่านวัสดุชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสิ่งใด
                          3) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เป็นการแยกสารเนื้อเดียว
จำพวกสารละลายที่มองเห็นเป็นสีเดียวกันให้เป็นสารบริสุทธิ์ โดยอาศัยสมบัติการละลายของสารและ
การดูดซับบนตัวกลางที่แตกต่างกัน ในการแยกสารออกจากกัน
                        2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการแยกสารด้วยวิธีโครมาโท-
กราฟี  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
   – ตัดกระดาษกรองหรือกระดาษโครมาโทกราฟีให้ได้ขนาด 2 เซนติเมตร x 5.5
เซนติเมตร จำนวน 3 แผ่น จากนั้นใช้วัสดุที่มีปลายขนาดเล็ก เช่น เข็มหรือหลอดแคปิลลารีจุ่มสีที่สกัดได้จากพืชในกิจกรรม 15 มาแตะที่กระดาษแต่ละแผ่นตรงกึ่งกลางและห่างจากปลายกระดาษด้านหนึ่งประมาณ 1 เซนติเมตร รอจนแห้งแล้วจุ่มสีที่จะทดสอบมาแตะซ้ำ ทำซ้ำจนได้จุดสีที่เข้มขึ้น
   – นำกระดาษกรองไปติดเข้ากับกระดาษแข็งด้วยเทปกาวใส โดยให้บริเวณที่จุด
ของเหลวอยู่ที่ด้านล่าง
   – เติมน้ำและสารละลายโซเดียมคลอไรด์ลงในบีกเกอร์หรือภาชนะขนาด 50 ลูกบาศก์
เซนติเมตร โดยให้แต่ละใบมีระดับความสูงของของเหลวประมาณ 0.3 เซนติเมตร จากนั้นวางกระดาษแข็งลงบนปากบีกเกอร์ จัดระยะของกระดาษกรองให้ปลายของกระดาษกรองอยู่ในของเหลวแต่ไม่ให้แตะกับก้นบีกเกอร์
   – ตั้งชุดการทดลองทิ้งไว้จนกระทั่งของเหลวแพร่ขึ้นมาเกือบถึงปลายด้านบน จึงยก
กระดาษกรองออกมาผึ่งให้แห้ง สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                   – ผลจากการทำกิจกรรม นักเรียนสามารถบอกได้หรือไม่ว่าสารที่เราเห็นเป็นเนื้อเดียวกันมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว (สามารถบอกได้ว่าสารที่เราเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน อาจมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้)
   – สีที่สกัดจากพืชที่นำมาทดสอบประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวหรือไม่ ทราบได้
อย่างไร (สีที่สกัดได้จากพืชบางชนิดประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว เช่น สีจากดอกกระเจี๊ยบ สีจากขมิ้น แต่บางชนิดจะประกอบด้วยสารมากกว่าหนึ่ง เช่น สีจากใบเตย ใบหูกวาง ซึ่งเราจะทราบได้จากการทดสอบสีเหล่านั้นด้วยวิธีโครมาโทกราฟี)
   – ถ้าองค์ประกอบในสารเนื้อเดียวเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วใกล้เคียงกันมาก นักเรียนจะ
แก้ปัญหาด้วยวิธีการใด (ต้องตรวจสอบซ้ำ โดยการเปลี่ยนชนิดของตัวทำละลายหรือตัวดูดซับ)
   3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สารสีที่สกัดได้จากพืชที่เห็นว่าเป็นสารเนื้อเดียว อาจมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้ แต่ถ้าแยกได้สีเดียวอาจเป็นเพราะสีนั้นมีองค์ประกอบเดียว หรือมีองค์ประกอบที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วใกล้เคียงกันมาก จำเป็นต้องมีการตรวจสอบซ้ำ โดยการเปลี่ยนชนิดของตัวทำละลายหรือตัวดูดซับ
4. ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                        4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                                 การแยกสีที่ปรากฏบนกระดาษกรองหรือกระดาษโครมาโทกราฟีทำได้ด้วยวิธีการใด
    – ข้อจำกัดของเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีคืออะไร
    – ยกตัวอย่างการนำวิธีการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีไปใช้ประโยชน์
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
 – หลักการของการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีคือ
อะไร
ตัวทำละลายที่เหมาะสมในวิธีโครมาโทกราฟีจะต้องมีลักษณะใด
ถ้าต้องการแยกสารที่เป็นของแข็งที่อยู่ในสภาพละลายได้ออกจากของเหลว นักเรียนจะใช้วิธีการแยกสารด้วยวิธีการใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสารด้วยวิธีการตกผลึก
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
        (1) ครูนำผลึกของเกลือแกง กำมะถัน และสารส้มมานักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม จากนั้นสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยครูใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้
ผลึกที่นักเรียนสังเกตเห็นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร
นักเรียนคิดว่าผลึกของสารเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากวิธีการใด
(2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                           (1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การตกผลึก เป็นการแยกสารที่เป็นของแข็งที่อยู่ในสภาพละลาย
ได้ออกจากของเหลว โดยการเพิ่มตัวละลายในสารละลายอิ่มตัวที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อสารละลายอิ่มตัว
ที่อุณหภูมิสูงเย็นตัวลง ตัวละลายที่เป็นของแข็งจะแยกตัวเป็นผลึกออกจากสารละลาย
                          (2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการละลายของสารเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
นำน้ำกลั่นจำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในบีกเกอร์ ใช้ช้อนเบอร์ 2 ตัก
สารโซเดียมคลอไรด์ใส่ลงไปในบีกเกอร์ทีละช้อน แล้วใช้แท่งแก้วคนสารละลายจนกว่าสารจะไม่ละลายอีกต่อไป กลายเป็นสารละลายอิ่มตัวโซเดียมคลอไรด์
นำสารละลายอิ่มตัวโซเดียมคลอไรด์ไปต้ม เมื่ออุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์เริ่ม
เพิ่มขึ้น ใช้ช้อนเบอร์ 2 ตักสารโซเดียมคลอไรด์เติมลงไปในบีกเกอร์ แล้วใช้แท่งแก้วคน สังเกตการละลายของสารที่เติมลงไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป จนกว่าสารนั้นจะไม่ละลายอีกต่อไป
ยกบีกเกอร์สารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ต้มไว้มาตั้งให้เย็นลง ณ อุณหภูมิห้อง
สังเกตผลการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผลที่สังเกตได้
ดำเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1–3 โดยใช้สารส้ม และคอปเปอร์ซัลเฟตแทน
โซเดียมคลอไรด์
                           (3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                           (1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                           (2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                                – การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารทำได้ด้วยวิธีการใด (การต้ม)
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ตัวละลายที่ใช้ในกิจกรรมเป็นอย่างไร (ตัวละลายสามารถละลาย
ได้เพิ่มขึ้น)
เมื่อปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลง ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร (สารละลายอิ่มตัวจะ
เกิดการตกผลึก)
   (3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สารละลายอิ่มตัวทั้ง 3 ชนิด เมื่อนำไปต้มให้อุณหภูมิสูงขึ้น ตัวละลายที่เติมลงไปจะสามารถละลายได้มากขึ้น เมื่อนำสารละลายทั้ง 3 ชนิดมาปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น พบว่าสารละลายอิ่มตัวของโซเดียมคลอไรด์ จะมีของแข็งสีขาวเป็นเกล็ดเกิดขึ้นที่ก้นภาชนะ สารละลายอิ่มตัวของสารส้มจะมีของแข็ง ใส ไม่มีสี อยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนสารละลายอิ่มตัวของคอปเปอร์ซัลเฟตจะได้ของแข็งสีฟ้า ใส อยู่ที่ก้นภาชนะ
4) ขั้นขยายความรู้
                   (1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   (2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5) ขั้นประเมิน
                            (1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                           (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                           (3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                           (4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
หลักการของการตกผลึกคืออะไร
ยกตัวอย่างการนำวิธีการแยกสารด้วยการตกผลึกมาใช้ประโยชน์
         – ถ้านักเรียนต้องเลือกใช้วิธีการแยกสารเพื่อแยกสารเนื้อผสมชนิดหนึ่งให้เป็นสาร
บริสุทธิ์ นักเรียนจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึก โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
 – หลักการของการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีคือ
อะไร
ตัวทำละลายที่เหมาะสมในวิธีโครมาโทกราฟีจะต้องมีลักษณะใด
ถ้าต้องการแยกสารที่เป็นของแข็งที่อยู่ในสภาพละลายได้ออกจากของเหลว นักเรียนจะใช้วิธีการแยกสารด้วยวิธีการใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสารด้วยวิธีการตกผลึก
กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่)
                1.ขั้นสร้างความสนใจ
        1) ครูนำผลึกของเกลือแกง กำมะถัน และสารส้มมานักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม จากนั้นสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยครูใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้
ผลึกที่นักเรียนสังเกตเห็นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร
นักเรียนคิดว่าผลึกของสารเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากวิธีการใด
2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                           1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การตกผลึก เป็นการแยกสารที่เป็นของแข็งที่อยู่ในสภาพละลาย
ได้ออกจากของเหลว โดยการเพิ่มตัวละลายในสารละลายอิ่มตัวที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อสารละลายอิ่มตัว
ที่อุณหภูมิสูงเย็นตัวลง ตัวละลายที่เป็นของแข็งจะแยกตัวเป็นผลึกออกจากสารละลาย
                          2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการละลายของสารเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
นำน้ำกลั่นจำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในบีกเกอร์ ใช้ช้อนเบอร์ 2 ตัก
สารโซเดียมคลอไรด์ใส่ลงไปในบีกเกอร์ทีละช้อน แล้วใช้แท่งแก้วคนสารละลายจนกว่าสารจะไม่ละลายอีกต่อไป กลายเป็นสารละลายอิ่มตัวโซเดียมคลอไรด์
นำสารละลายอิ่มตัวโซเดียมคลอไรด์ไปต้ม เมื่ออุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์เริ่ม
เพิ่มขึ้น ใช้ช้อนเบอร์ 2 ตักสารโซเดียมคลอไรด์เติมลงไปในบีกเกอร์ แล้วใช้แท่งแก้วคน สังเกตการละลายของสารที่เติมลงไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป จนกว่าสารนั้นจะไม่ละลายอีกต่อไป
ยกบีกเกอร์สารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ต้มไว้มาตั้งให้เย็นลง ณ อุณหภูมิห้อง
สังเกตผลการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผลที่สังเกตได้
ดำเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1–3 โดยใช้สารส้ม และคอปเปอร์ซัลเฟตแทน
โซเดียมคลอไรด์
                           3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                           1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                           2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                                – การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารทำได้ด้วยวิธีการใด (การต้ม)
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ตัวละลายที่ใช้ในกิจกรรมเป็นอย่างไร (ตัวละลายสามารถละลาย
ได้เพิ่มขึ้น)
เมื่อปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลง ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร (สารละลายอิ่มตัวจะ
เกิดการตกผลึก)
               3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สารละลายอิ่มตัวทั้ง 3 ชนิด เมื่อนำไปต้มให้อุณหภูมิสูงขึ้น ตัวละลายที่เติมลงไปจะสามารถละลายได้มากขึ้น เมื่อนำสารละลายทั้ง 3 ชนิดมาปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น พบว่าสารละลายอิ่มตัวของโซเดียมคลอไรด์ จะมีของแข็งสีขาวเป็นเกล็ดเกิดขึ้นที่ก้นภาชนะ สารละลายอิ่มตัวของสารส้มจะมีของแข็ง ใส ไม่มีสี อยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนสารละลายอิ่มตัวของคอปเปอร์ซัลเฟตจะได้ของแข็งสีฟ้า ใส อยู่ที่ก้นภาชนะ
4. ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึกจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                            1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                           2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                           3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                           4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
หลักการของการตกผลึกคืออะไร
ยกตัวอย่างการนำวิธีการแยกสารด้วยการตกผลึกมาใช้ประโยชน์
         – ถ้านักเรียนต้องเลือกใช้วิธีการแยกสารเพื่อแยกสารเนื้อผสมชนิดหนึ่งให้เป็นสาร
บริสุทธิ์ นักเรียนจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการตกผลึก โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด

การวัดและประเมินผล (Evaluation)

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1.  ด้านความรู้ความเข้าใจ
1.             อธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
2.             สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
3.             ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการแยกสารด้วยการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้

ใบงานที่1 เรื่องการแยกสารผสม
หมุนเวียนเลือด
แบบทดสอบ

- ร้อยละ 50
ผ่านเกณฑ์

2.  ด้านทักษะกระบวนการ
1.             สามารถทดลอง แยกสารด้วยวิธีการกรอง กลั่น สกัด และโครมาโทกราฟีกระดาษได้
2.             ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
3.              ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
4.             ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

1. การทำงานกลุ่ม
2. การปฏิบัติการทดลอง
3.การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

- แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- แบบประเมินพฤติกรรม
- แบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ร้อยละ 50
ผ่านเกณฑ์










3.  ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.             การรับผิดชอบ
2.             การใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.             ความมุ่งมั่น
4.             การแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

1. การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2. พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
-  แบบประเมินตนเองในการร่วมกิจกรรมในห้องเรียน
- แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- ร้อยละ 60
ผ่านเกณฑ์


แหล่งค้นคว้า/สื่อวัสดุอุปกกรณ์
1.             หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เล่ม 1(สสวท)
                2.             หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 (แม็ค) 

                                           ..................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2                            ภาคเรียนที่1/2555                                     
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจำแนกสาร                                                                              เวลา 12 ชั่วโมง
เรื่อง   สารประกอบและธาตุ                                                                                             เวลา   6 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้  3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด   สำรวจตรวจสอบและเปรียบเทียบสมบัติของสาร อธิบายองค์ประกอบสมบัติของสารประกอบสมบัติของธาตุและสารประกอบสามารถจำแนกและอธิบายสมบัติของธาตุกัมมันตรังสี โลหะ อโลหะกึ่งอโลหะ และการนำไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้(Knowledge : K)
                     1. อธิบายสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะได้
     2. อธิบายและเปรียบเทียบสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะในด้านการนำไฟฟ้า และการนำความร้อนได้
      3. อธิบายสมบัติ การใช้ประโยชน์ และวิธีการป้องกันอันตรายจากธาตุกัมมันตรังสีได้
     4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการนำธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
      5. บอกประโยชน์ของธาตุและสารประกอบที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
                      6. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของธาตุและสารประกอบได้
      7.อธิบายสมบัติบางประการของสารประกอบได้
      8. อธิบายและเปรียบเทียบความแตกต่างของธาตุและสารประกอบได้
     9. แยกสารประกอบของน้ำด้วยไฟฟ้าได้
2.              ด้านทักษะ / กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Process : P)
1.             ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
2.              ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
3.             ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
3.              ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Attitude : A)
1.             การรับผิดชอบ
2.             การใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.             ความมุ่งมั่น
4.             การแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

สาระสำคัญ
หลักฐานการเรียนรู้ / ผลงาน / การปฏิบัติงาน
ผลการเรียนรู้
หลักฐาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน
ความรู้ความเข้าใจ
  

ทักษะกระบวนการ
การนำเสนอผลงาน
เจตคติ
การให้ความร่วมมือภายในกลุ่ม
การส่งงานตรงต่อเวลา

กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่1-2)
                ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความพร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
1. ขั้นสร้างความสนใจ
1) ครูนำบล็อกพลาสติกที่มีสีต่าง ๆ มาให้นักเรียนช่วยกันต่อเป็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่นักเรียนสนใจ ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน และให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
สิ่งก่อสร้างที่นักเรียนทำขึ้นสามารถนำไปใช้
ประโยชน์อะไรได้
สิ่งก่อสร้างที่นักเรียนทำขึ้นมีอะไรเป็นส่วนประกอบ
บ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ  
                 3) ครูนำแก้วใส่น้ำ ดิน ทราย และน้ำตาลทรายมาให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปราย โดยครูใช้คำถามกระตุ้นดังนี้
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง
สารต่างชนิดกันจะมีองค์ประกอบของสาร
เหมือนกันได้หรือไม่ เพราะอะไร
                    – สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของนักเรียนประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
    4) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2.ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ จากใบความรู้หรือ
ในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สสารต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวประกอบด้วยหน่วย
พื้นฐานเล็ก ๆ จำนวนมากที่มีสมบัติเฉพาะตัว นักวิทยาศาสตร์เรียกหน่วยพื้นฐานนี้ว่า ธาตุ ในสมัยก่อน
ที่ยังมีการค้นพบธาตุเพียงไม่กี่ชนิด นักวิทยาศาสตร์จะใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนธาตุแต่ละธาตุ แต่เมื่อมี
การค้นพบธาตุจำนวนมากขึ้นจึงได้เปลี่ยนมาใช้สมบัติของธาตุเป็นเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ธาตุในรูป
ของตารางธาตุแทน ในการจัดธาตุต่าง ๆ ลงในตารางธาตุ นักวิทยาศาสตร์จะใช้สมบัติความเป็นโลหะ
อโลหะ และกึ่งโลหะของธาตุในการจัดหมวดหมู่ ซึ่งธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะจะมีสมบัติ
แตกต่างกันออกไป
                    2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตสมบัติบางประการของธาตุ  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
ต่อเครื่องตรวจการนำไฟฟ้าเข้ากับกระบะถ่านไฟฉาย แล้วนำแท่งวัสดุของธาตุโลหะ
และธาตุอโลหะมาต่อในวงจรไฟฟ้า ดังรูป สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟฟ้า เมื่อนำแท่งวัสดุของธาตุแต่ละชนิดมาต่อแล้วบันทึกผลที่เกิดขึ้น
ต่อแท่งวัสดุของธาตุโลหะและอโลหะเข้ากับจุกยางของเครื่องตรวจการนำความร้อน
นำดินน้ำมันวางบนปลายแท่งวัสดุแต่ละแท่งที่ยื่นออกมานอกภาชนะ
ใส่น้ำจำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงในเครื่องตรวจการนำความร้อน นำไปให้
ความร้อนด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ ดังรูป สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดินน้ำมัน แล้วบันทึกผลที่เกิดขึ้น
นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันแล้วนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม
หมายเหตุ
ก่อนทดสอบการนำไฟฟ้าของธาตุด้วยเครื่องตรวจการนำไฟฟ้า ควรใช้กระดาษทรายขัดธาตุให้สะอาดก่อน
การต่อแท่งวัสดุของธาตุเข้ากับจุกยางของเครื่องตรวจการนำความร้อน ควรดึงให้ปลายแท่งวัสดุข้างที่อยู่ในภาชนะยื่นพ้นจุกยางเท่า ๆ กัน ประมาณ 1.5–2 เซนติเมตร เพื่อให้ความร้อนถ่ายโอนผ่านแท่งวัสดุของธาตุได้ดีขึ้น
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                – ธาตุโลหะมีสมบัติเหมือนธาตุอโลหะหรือไม่ เพราะอะไร (ธาตุอโลหะมีสมบัติต่างจากธาตุอโลหะ เพราะธาตุโลหะจะนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี แต่ธาตุอโลหะส่วนใหญ่จะไม่นำไฟฟ้าและไม่นำความร้อน)
ธาตุโลหะสามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ (นำทองแดงมา
ใช้ทำสายไฟฟ้า เพราะนำไฟฟ้าได้ดี นำอะลูมิเนียมมาใช้ทำภาชนะหุงต้ม เพราะนำความร้อนได้ดี)
นอกจากธาตุโลหะจะมีสมบัติการนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีแล้ว ยังมีสมบัติ
อะไรอีกบ้าง (มีความมันวาว เหนียว ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง)
                    3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า โลหะที่นำมาทดสอบ ได้แก่ ทองแดง สังกะสี เหล็กและอะลูมิเนียม จะนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี ส่วนอโลหะที่นำมาทดสอบ ได้แก่ กำมะถัน ฟอสฟอรัส และโบรมีน จะนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ไม่ดี แต่อโลหะบางชนิด เช่น คาร์บอน (แกรไฟต์) จะนำไฟฟ้าได้
4.ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ  จากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ   จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                        4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
ธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างจากธาตุโลหะและธาตุอโลหะในลักษณะใด
เพราะเหตุใดจึงนิยมนำธาตุโลหะมาใช้เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ธาตุอโลหะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ  โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่3)
1. ขั้นสร้างความสนใจ
1) ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ   ที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ มีสมบัติแตกต่างกันในลักษณะใดบ้าง 
ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ที่ตำแหน่งใดของตารางธาตุ
นอกจากธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้ว ในตารางธาตุยังมีธาตุใดอีกบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัติของธาตุกัมมันตรังสี
3) ครูตั้งประเด็นคำถาม และสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยครูใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้
                                – นักเรียนเคยอ่านบทความหรือได้ยินข่าวที่
เกี่ยวข้องกับธาตุกัมมันตรังสีหรือไม่
                    – ธาตุกัมมันตรังสีถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง 
  4) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับ
คำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ธาตุกัมมันตรังสี เป็นธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้ 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา
รังสีบีตา และรังสีแกมมา เรียกรังสีของธาตุที่แผ่ออกมานี้ว่า กัมมันตภาพรังสี ซึ่งกัมมันตภาพรังสีแต่
ละชนิดจะมีสมบัติที่แตกต่างกัน จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน แต่ถ้ากัมมันตภาพรังสีที่แผ่
ออกมาผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเนื้อเยื่อ ซึ่งนำไปสู่
สาเหตุของโรคมะเร็งได้ จึงควรมีวิธีการป้องกันอันตรายอย่างถูกวิธี
                  2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลกัมมันตรังสีในชีวิตประจำวัน  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
ให้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ธาตุกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านใดต่าง ๆ เช่น
การแพทย์ อาหาร อุตสาหกรรม และอันตรายจากกัมมันตรังสี
นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน แล้วนำเสนอผลการทำกิจกรรม
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                – ธาตุที่สามารถปล่อยกัมมันตภาพรังสีได้เป็นธาตุกลุ่มใด และรังสีที่ปล่อยออกมามีอะไรบ้าง (ธาตุที่สามารถปล่อยกัมมันตภาพรังสีได้เป็นธาตุกัมมันตรังสี โดยรังสีที่ปล่อยออกมาจะมี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีเบตา และรังสีแกมมา)
มนุษย์นำธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง (ด้านการเกษตร การแพทย์
อุตสาหกรรม และโบราณคดี)
ธาตุกัมมันตรังสีเป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่ อธิบาย (ถ้าร่างกายของมนุษย์ได้รับ
รังสีจากธาตุกัมมันตรังสีในปริมาณมากหรือปริมาณน้อยแต่ระยะเวลานานจะทำให้เซลล์ตายได้ หรืออาจทำให้โครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลง เกิดการกลายพันธุ์ได้)
                    3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ธาตุกัมมันตรังสีสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ ทั้งในด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านอาหาร และด้านอุตสาหกรรม อันตรายจากกัมมันตรังสีจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับรังสีในปริมาณที่มาก หรือน้อยแต่เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เซลล์ร่างกายส่วนที่รับรังสีตายได้
4.ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีจากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนใน
ห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                        4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
–  ธาตุกัมมันตรังสีมีประโยชน์ในด้านการแพทย์และการเกษตรในลักษณะใด
                                – ผลกระทบและอันตรายที่เกิดจากการใช้ธาตุกัมมันตรังสีอย่างผิดวิธีมีอะไรบ้าง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสมบัติของธาตุกัมมันตรังสี โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์          
กิจกรรมการเรียนรู้  (ชั่วโมงที่4-5)
1. ขั้นสร้างความสนใจ
1) ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ ธาตุกึ่งโลหะ   ธาตุกัมมันตรังสีที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกันในลักษณะใดบ้าง 
นักเรียนสามารถแยกธาตุด้วยวิธีการทางเคมีให้เป็นสารที่บริสุทธิ์กว่าเดิมได้หรือไม่ เพราะอะไร
ธาตุแต่ละชนิดสามารถทำปฏิกิริยารวมตัวกันได้หรือไม่ และสารที่เกิดขึ้นจะมีสมบัติแตกต่างจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบหรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัติของสารประกอบ
                3) ครูนำน้ำเกลือและน้ำเชื่อมมาให้นักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม จากนั้นสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยครูใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้
น้ำเกลือประกอบด้วยสารใดบ้าง
น้ำเชื่อมประกอบด้วยสารใดบ้าง
   4) ครูนำน้ำเกลือและน้ำเชื่อมมาใส่ในถ้วยกระเบื้องแล้วให้ความร้อน จนกระทั่งน้ำที่อยู่ในสารแต่ละชนิดระเหยออกจนหมด เหลือแต่เกลือและน้ำตาลทรายติดอยู่ที่ก้นภาชนะ ครูให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น จากนั้นสุ่มนักเรียน 2–3 คน ให้นักเรียนตอบคำถาม ดังนี้
เมื่อให้ความร้อนแก่น้ำเกลือและน้ำเชื่อมจะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
น้ำเกลือและน้ำเชื่อมประกอบด้วยสารใดบ้าง เพราะอะไร
                        5) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาสมบัติของสารประกอบจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สารประกอบ เป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิดหรือมากกว่า ที่รวมตัวกัน
โดยปฏิกิริยาเคมี มีสัดส่วนของมวลคงที่แน่นอนในการรวมตัว และจะมีสมบัติแตกต่างจากธาตุที่เป็น
องค์ประกอบของสารประกอบนั้น ๆ
                    2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5-6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า  ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะการสังเกต ดังนี้
ใส่น้ำประปาลงในถ้วยพลาสติกของชุดแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจนเต็ม ปิดฝาครอบที่มี
หลอดทดลองและขั้วไฟฟ้า
ใช้นิ้วมือปิดรูระบายอากาศที่ฝากล่องพลาสติก แล้วคว่ำถ้วยพลาสติกลง ให้น้ำใน
ถ้วยพลาสติกไหลเข้าในหลอดทดลองแทนที่อากาศจนเต็ม แล้วหงายถ้วยพลาสติกขึ้น
ต่อสายไฟฟ้าจากกระบะถ่านไฟฉายขนาด 6 โวลต์ เข้ากับชุดแยกน้ำด้วยไฟฟ้า โดย
ให้ขั้วบวกและขั้วลบของกระบะถ่านไฟฉายต่อกับขั้วบวกและขั้วลบของชุดแยกน้ำด้วยไฟฟ้า สังเกตการเปลี่ยนแปลงในหลอดทดลองทั้งสองแล้วบันทึกผลที่เกิดขึ้น
เมื่อได้แก๊สเต็มหลอดแล้วถอดสายไฟฟ้าออก ใช้จุกยางปิดปากหลอดทดลองไว้ ทำ
เครื่องหมายแสดงขั้วไฟฟ้าที่หลอดทดลองทั้งสองว่ามาจากขั้วไฟฟ้าใด
ทดสอบการติดไฟของแก๊สในหลอดทดลองทั้งสองโดยใช้ไม้ขีดไฟที่ลุกเป็นเปลวจ่อ
บริเวณปากหลอดทันทีที่เปิดจุกยาง สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล
ทำการทดสอบซ้ำ แต่ทดสอบการติดไฟของแก๊สในหลอดทดลองทั้งสองโดยใช้ธูปที่
ติดไฟเหลือแต่ถ่านแดงหย่อนลงไปในแต่ละหลอดทดลองทันทีที่เปิดจุกยางแทน สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผลที่เกิดขึ้น
หมายเหตุ
ถ้าน้ำประปาที่นำมาทดสอบไม่นำไฟฟ้า ให้ใส่โซเดียมซัลเฟตจำนวน 3 ช้อน เบอร์ 2 ลงในน้ำแล้วคนด้วยแท่งแก้วให้โซเดียมซัลเฟตละลายจนหมด
ในการทดสอบการติดไฟ เมื่อนำหลอดทดลองที่มีแก๊สออกจากชุดเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าแล้ว ให้นำหลอดทดลองมายึดไว้กับขาตั้งและที่จับหลอดทดลอง ใช้แผ่นกระจกปิดสไลด์ปิดปากหลอดทดลองไว้ เมื่อจะทดสอบให้ค่อย ๆ เลื่อนแผ่นกระจกปิดสไลด์ออกแล้วรีบจุดไฟทันที
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                                – แก๊สที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสองเป็นแก๊สชนิดเดียวกันหรือไม่ นักเรียนสามารถทดสอบด้วยวิธีการใด (แก๊สที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสองเป็นแก๊สคนละชนิดกัน ทดสอบได้โดยนำธูปที่ติดไฟกับนำไม้ขีดที่มีเปลวไฟไปจ่อที่ปากหลอดทดลอง พบว่าจะให้ผลการทดสอบแตกต่างกัน)
นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดการทดสอบการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจึงใช้น้ำประปาแทนการ
ใช้น้ำกลั่นซึ่งเป็นน้ำบริสุทธิ์ (เพราะในน้ำประปาจะมีสารบางชนิดเจือปนทำให้นำไฟฟ้าได้ เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าจะเกิดปฏิกิริยาและให้แก๊สได้)
นักเรียนคิดว่าน้ำมีส่วนประกอบพื้นฐานอะไรบ้าง (แก๊สที่แตกต่างกัน 2 ชนิด)
  3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อผ่าน
ไฟฟ้ากระแสตรงจากกระบะถ่านไฟฉาย เข้าชุดแยกน้ำด้วยไฟฟ้าที่มีน้ำประปาอยู่เต็ม จะมีแก๊สเกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสองที่ต่ออยู่กับขั้วไฟฟ้า โดยแก๊สที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าบวกจะช่วยให้ธูปที่เหลือแต่ถ่านแดงติดไฟได้ ส่วนแก๊สที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าลบจะช่วยให้ติดไฟ เกิดไฟลุกที่ปากหลอดทดลองได้
4. ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบ จากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบ จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู

                5 ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                        4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
สารประกอบคืออะไร
สมบัติของสารประกอบจะเหมือนหรือแตกต่างจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้น
หรือไม่ เพราะอะไร ยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาสมบัติของธาตุและสารประกอบมีประโยชน์อย่างไร
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมการเรียนรู้(ชั่วโมงที่6)
1. ขั้นสร้างความสนใจ
       ครูนำรูปถ่าย หรือวีดิทัศน์ หรือ CD–Rom ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตสินค้า
ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปรายถึงวัตถุดิบที่ใช้ และขั้นตอนการผลิตสินค้าชนิดนั้น ๆ  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นดังนี้
สินค้าที่ผลิตขึ้นทำมาจากวัตถุดิบอะไรบ้าง
วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้ามีส่วนที่เป็นสารประกอบและธาตุอะไรบ้าง
       นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความ
คิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน
                   1) ครูนำแผนภูมิวงกลมแสดงมวลและร้อยละของธาตุต่าง ๆ ที่เปลือกโลก มหาสมุทร และในบรรยากาศ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 มาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปราย โดยครูใช้คำถามกระตุ้นดังนี้
                        – เปลือกโลก มหาสมุทร และบรรยากาศประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง
                       – นักเรียนเคยใช้ประโยชน์จากธาตุเหล่านี้หรือไม่ ในลักษณะใด
                        2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
                2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                        1) ให้นักเรียนศึกษาธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน จากใบความรู้หรือในหนังสือ
เรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ธาตุและสารประกอบที่อยู่ในธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม และนิกเกิล ในการผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์ ใช้อะลูมิเนียมในกระบวนการผลิตกระป๋องและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะนำธาตุและสารประกอบมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่าง ๆ แล้ว การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็เกี่ยวข้องกับธาตุและสารประกอบด้วยเช่นกัน เช่น ใช้ออกซิเจนในการหายใจ เผาผลาญอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย  ใช้แคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างปกติ
                   2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
                                – แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกัน
สืบค้นตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกำหนดหัวข้อย่อย เช่น ธาตุและสารประกอบที่พบในธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำธาตุและสารประกอบมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ
สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเอง
รับผิดชอบ โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือจากหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
                                – สมาชิกกลุ่มนำข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้ง
ร่วมกันอภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
                                – สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทำ
รายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน
                                  3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
                        1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
                        2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คำถามต่อไปนี้
                                – ในธรรมชาติจะพบธาตุหรือสารประกอบชนิดใดมากที่สุด เพราะอะไร (ออกซิเจน เพราะเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบของน้ำและอากาศซึ่งมีอยู่ปริมาณมากบนโลก)
ยกตัวอย่างการนำธาตุและสารประกอบมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
(ธาตุโลหะ เช่น   คาร์บอน ใช้เป็นเชื้อเพลิง แกรไฟต์ ทำไส้ดินสอ
ฟลูออรีน เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน ช่วยป้องกันฟันผุ
คลอรีน ใช้ทำสารฟอกขาว และใส่ในน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื้อโรค
ธาตุอโลหะ เช่น ทองแดง ใช้ทำสายไฟฟ้า ทำภาชนะ
สังกะสี ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร มุงหลังคา
ทองคำ ใช้ทำเครื่องประดับ
สารประกอบ เช่น แอลกอฮอล์ ใช้ล้างแผล เป็นส่วนประกอบในยาฆ่าเชื้อโรค
น้ำปูนใส ใช้แช่ผัก ผลไม้ให้กรอบ
น้ำตาลทราย ใช้ปรุงอาหาร เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย)
                   3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
4. ขั้นขยายความรู้
                   1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน จากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทำเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
                   2) นักเรียนค้นคว้าบทความหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนในห้องฟัง พร้อมทั้งรวบรวมคำศัพท์และคำแปลลงสมุดส่งครู
                5. ขั้นประเมิน
                        1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                        2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
                        3) นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                     4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                               – ในร่างกายของมนุษย์มีธาตุและสารประกอบอะไรบ้าง
                                – มนุษย์สามารถผลิตธาตุและสารประกอบขึ้นมาทดแทนที่มีอยู่เดิมในธรรมชาติได้
หรือไม่ เพราะอะไร
ถ้าในอนาคตธาตุและสารประกอบมีจำนวนลดลงจนหมดไป นักเรียนคิดว่าจะเกิด
ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือไม่ ในลักษณะใด                   
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดำเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ตอนที่ 1


              .......................................................................................................................................








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น